> หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2565> หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2560> หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2555> หลักเกณฑ์การเทียบโอนหน่วยกิต ฯ
สถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา วิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวมของโลกรวมถึงประเทศไทย การใช้พลังงานไม่เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งการใช้พลังงานจากฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลักส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสภาวะอากาศของโลก ซึ่งมีการคาดการณ์สาเหตุว่าน่าจะมาจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จนก่อให้เกิดปรากฏการณ์สภาวะเรือนกระจก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามลำดับ โดยสาเหตุหลักประการหนึ่งของปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน ดังนั้น การอนุรักษ์พลังงาน และการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจึงมีส่วนช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีนัยสำคัญ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงได้ปรับปรุงหลักสูตรหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน เพื่อให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับ “พรบ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2550” และ “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ระหว่าง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กับ มหาวิทยาลัยรามคำแหง” รวมถึงแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP2018) แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561-2580 (EEP2018) และ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สามารถตอบสนองต่อปัญหาวิกฤติการณ์พลังงานที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งตอบสนองความต้องการด้านการอนุรักษ์พลังงาน การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน
1. พลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม
2. การวิเคราะห์ข้อมูลและการหาค่าที่เหมาะสม
3. การจัดการเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
4. การวิเคราะห์และเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน
5. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
6. ความเป็นกลางทางคาร์บอน
7. พลังงานรังสีอาทิตย์สำหรับระบบอุณหภาพ
8. พลังงานรังสีอาทิตย์สำหรับระบบไฟฟ้า
9. เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับวิศวกรรมพลังงาน
10. สหกิจศึกษาด้านวิศวกรรมพลังงาน
1. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในอาคารธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรม 2. ผู้จัดการด้านพลังงานในหน่วยงานรัฐและเอกชน3. ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน4. วิศวกรพลังงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน5. วิศวกรที่ปรึกษาด้านพลังงาน6. นักวิชาการด้านพลังงาน7. ผู้ประกอบการด้านพลังงาน