> หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2565
> หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2560> หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2555> หลักสูตรที่รับรองจากสภาวิศวกร (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)> หลักเกณฑ์การเทียบโอนหน่วยกิต ฯ
หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นสาขาวิชาด้านวิศวกรรมที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีความจำเป็นต้องพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อก้าวสู่สังคมดิจิทัล การพัฒนาวิศวกรอุตสาหการที่มีทักษะด้านการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและทักษะด้านการจัดการงานอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สาขาวิศวกรรมอุตสาหการเป็นสาขาที่เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการในอุตสาหกรรม เพื่อบริหารจัดการกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดต้นทุนการผลิตซึ่งเป็นที่ต้องการในทุกอุตสาหกรรม วิศวกรอุตสาหการ สามารถทำงานได้ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสาขาวิศวกรรมควบคุมที่ได้รับการรับรองหลักสูรจากสภาวิศวกร วิศวกรสาขานี้จึงสามารถขอใบประกอบวิชาชีพหรือ ใบ กว.ได้ นอกจากนี้มีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งภาคอุตสาหกรรมไทยและต่างประเทศเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการภาคอุตสาหกรรม ขอบข่ายการศึกษาทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ประกอบด้วย การศึกษาเกี่ยวกับระบบการผลิตอัตโนมัติที่ทันสมัย หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม (Industrial Robot) และการจัดการกระบวนกาผลิตด้วยแนวทางของ Lean Manufacturing, Lean IOT,ระบบการจัดการ ERP,และ การประยุกต์ใช้ Industrial Internet of Things (IIOTs) และ ปัญญาประดิษฐ์ในอุตสาหกรรม ( AI ) พร้อมทั้งการวิเคราะห์กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพด้วยหลักการของ Lean Six Sigma การวิเคราะห์ต้นทุนอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรมและ ทักษะต่างๆที่สำคัญสำหรับการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่
1. ระบบควบคุมการผลิตอัตโนมัติ (Manufacturing Automated Control System )
2.การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning and Control)
3.การวิเคราะห์ต้นทุนอุตสาหกรรมและงบประมาณ (Industrial Cost and Budgeting)
4.เทคโนโลยีหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robotics Technology) 5.กระบวนการผลิตสมัยใหม่ (Modern of Manufacturing Process)
6.การจัดการคุณภาพระดับหกซิกส์ม่า (Six Sigma for Quality Management)
7.การจัดการระบบโลจิสติกส์ (Logistics System Management) 8.ระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing System)
9.การเป็นผู้ประกอบการวิศวกรรม (Entrepreneurship Engineering)
1.วิศวกรอุตสาหการ
2.ผู้จัดการโรงงาน
3.วิศวกรควบคุมคุณภาพ
4. วิศวกรวางแผนและควบคุมการผลิต
5.วิศวกรวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในอุตสาหกรรมและการเงิน
6.วิศวกรวิเคราะห์โครงการ
7.วิศวกรจัดซื้อและซัพพลายเชน
8.ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
9. วิศวกรอุตสาหการทำงานในภาครัฐบาล เช่น กรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และ รัฐวิสาหกิจ เช่น การประปา เป็นต้น