tripod

สาขาวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรวิศวกรรมโยธา(มคอ.2)

> หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2565
> หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2560
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2555
> หลักสูตรที่รับรองจากสภาวิศวกร (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 65-69)
 > หลักสูตรที่รับรองจากสภาวิศวกร (หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 61-65)
หลักเกณฑ์การเทียบโอนหน่วยกิต ฯ

ภาพรวมของหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

      หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ปัจจุบันจัดเป็นสาขาวิชาที่สำคัญและเป็นสาขาพื้นฐาน ในงานด้านวิศวกรรมศาสตร์  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทั้งภายในและภายนอกประเทศ  โดยมีขอบข่ายงานกว้างขวาง เช่น งานด้านการก่อสร้าง งานโครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัย อาคารสาธารณูปโภคต่างๆ การจัดการและพัฒนาแหล่งน้ำ การสำรวจ งานด้านจราจร รวมถึงด้านการบริหารงานด้านก่อสร้าง

       ดังนั้นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จึงมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมพื้นฐานและวิศวกรรมเฉพาะสาขา รวมถึงทักษะทางกฎหมาย ด้านจรรยาบรรณ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย การมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม เพื่อนำองค์ความรู้มาใช้ในการประกอบอาชีพด้านวิศวกรรมควบคุมตามหลักเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพหรือสภาวิศวกรกำหนดและสามารถประยุกต์ความรู้ที่มีในการประกอบอาชีพวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่และยึดมั่นต่อจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพของตน รู้หน้าที่และเข้าใจในกระบวนการทำงานของตนเอง สามารถสื่อสารและตอบสนองต่อการทำงานเป็นทีม มีความพร้อมด้วยการนำความรู้ที่มีในการแก้ปัญหาต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน  และยังเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและวิทยาการทางวิศวกรรมโยธา รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ และส่งเสริมการพัฒนาทางวิชาการและวิจัย ในการพัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องต่อความต้องการขยายตัวทางด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ



รายวิชาที่น่าสนใจ

1.  Hydraulics ชลศาสตร์ 

2.  Surveying  การสำรวจ

3. Geology Engineering วิศวกรรมธรณี

4. Reinforced Concrete Design การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก

5. Hydrology  อุทกวิทยา

6.  Timber and Steel Design การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก

7. Foundation Engineering  วิศวกรรมฐานราก

8. Construction and Engineering Managemen การบริหารงานก่อสร้างและวิศวกรรม   

9. Highway Engineering   วิศวกรรมการทาง


สายงานที่รองรับ / อาชีพ

1.  วิศวกรโยธา

2.  วิศวกรโครงสร้าง

3.  วิศวกรสำรวจ

4.  วิศวกรการขนส่งและจราจร

5.  วิศวกรชลประทาน

6.  วิศวกรบริหารงานก่อสร้าง 

7.  วิศวกรการขาย

8.  วิศวกรออกแบบ 

9.  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ผังเมือง

10. นักวิชาการหรือนักวิจัย

11. อาชีพอิสระอื่นๆ ที่ตรงสาขา