robotic-arm

สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี

หลักสูตรการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี (มคอ.2)

>หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี(ฉบับปี พ.ศ. 2564)


ภาพรวมของหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี

     ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น อาทิ เช่น การนำระบบการผลิตอัตโนมัติและระบบ IIOTs มาใช้ในกระบวนการผลิต จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาความรู้และทักษะของบุคคลกรในเชิงรุกเพื่อให้มีที่มีศักยภาพและมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ช่วยตอบสนองความต้องการทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจและหน่วยราชการที่มีความต้องการบุคลากรที่มีความคล่องตัว มีความรู้และทักษะทางการบริหารจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย  และเพื่อรองรับความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้น 

     สาขาการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยีมีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ในการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้หลักสูตรตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การศึกษาของสาขาการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยี มุ่งเน้นศึกษาการจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยียุคใหม่ด้วยการใช้หลักคิดและกลยุทธ์การจัดการอุตสาหกรรมที่ทันสมัย รวมถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม เช่น กลยุทธ์การจัดการอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้ ระบบ Industrial Internet of Things (IIOTs) และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรม  การจัดการโครงการอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจในกระบวนการผลิตและบริการ การเลือกใช้เทคโนโลยีระบบการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่เหมาะสม การควบคุมคุณภาพตามแนวทางของ Lean Six Sigma  การจัดการความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลและการสร้างธุรกิจด้านเทคโนโลยี ( Start-up) 


รายวิชาที่น่าสนใจ

1. ระบบลีนซิกซ์ซิกมาร์และการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Lean Six Sigma and Continuous Quality Management)

2. การจัดการโครงการวิศวกรรม (Engineering Project Management)

3. การจัดการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม (Engineering and Technological Innovation Management)

4. เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ (Modern Manufacturing Technology)

5. นวัตกรรมสรรพสิ่งอินเตอร์เนตในอุตสาหกรรม (Internet of Thing Innovation in Industry)

6. เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในอุตสาหกรรม (Artificial Intelligence Technology in Industry)

7. กลยุทธ์การจัดการอุตสาหกรรม (Strategic Industrial Management)

8 .การจัดการความปลอดภัยและความเสี่ยงในอุตสาหกรรม (Industrial Safety and Risk Management)

9. การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน (Logistics and Supply Chain Management)

 


สายงานที่รองรับ

1. วิศวกรในองค์กรด้านวิศวกรรม

2. ผู้จัดการและผู้บริหารอุตสาหกรรม

3. หัวหน้าฝ่ายงานวิศวกรรมในงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ

4. ผู้บริหารโครงการอุตสาหกรรม

5. ผู้ประเมินโครงการ

6. นักวิชาการและนักวิจัย