enviromentally-friendly

สาขาวิศวกรรมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรสาขาวิศวกรรมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม(มคอ.2)

>หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม(ฉบับปี พ.ศ. 2565)
>หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (ฉบับปี พ.ศ. 2565)


ภาพรวมของหลักสูตร

            จากการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ประชาคมโลกได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ในระยะ 15 ปี (ปี 2558 – 2573) ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย (Goals) 169 เป้าประสงค์ (Targets) โดยแต่ละภาคอุตสาหกรรมนั้น มีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีรวมถึงการนำเข้าสารเคมีอันตรายมาใช้ในกระบวนการผลิต หากผู้ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องขาดความตระหนักด้านความปลอดภัยอาจนำมาสู่การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีผลกระทบเกิดขึ้นโดยเฉพาะด้านสุขภาพและความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตทรัพย์สินของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ และก่อให้เกิดปัญหาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมา ดังจะพบเห็นตัวอย่างจากกรณีภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ภัยบัติภัยเหล่านี้สามารถถูกทำให้ลดลงได้หากผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม อย่างถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

                ด้วยเหตุนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการบูรณาการสอนด้านวิศวกรรม รวมกับศาสตร์ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยหลักสูตรได้มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มีความพร้อมในเรื่องความรู้และวิชาการสมัยใหม่เพื่อให้สามารถควบคุมและป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงาน สามารถลดโอกาสการเกิดและลดความรุนแรงของอุบัติเหตุอันจะนำไปสู่อุบัติภัยได้ การพัฒนาหลักสูตรจึงมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัย ด้านการจัดการอาชีวอนามัยความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมเทคโนโลยีสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีทักษะในการพัฒนาแนวทาง กลวิธีในการบริหารองค์กรและแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน


รายวิชาที่น่าสนใจ

1. การบริหารโครงการเชิงประยุกต์
2. หลักการบริหารจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
3. การจัดการความเสี่ยงและการป้องกันอันตรายในงานอุตสาหกรรม
4. สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและอาชีวเวชศาสตร์
5. แนวคิดความยั่งยืนและการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง
6. นิเวศวิทยาอุตสาหกรรม
7. กฎเกณฑ์ ข้อกำหนดเกี่ยวกับวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย
8. เครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
9. การตรวจสอบอาคาร


สายงานที่รองรับ

1. นักวิชาการและนักวิจัย
2. อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
3. อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการ ธุรกิจส่วนตัว ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
4. งานราชการ /งานรัฐวิสาหกิจชั้นนำ/หน่วยงานเอกชนทุกระดับ

4.1 วิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer)
4.2 นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygienist)
4.3 นักอาชีวอนามัย (Occupational Health Officer)
4.4 พนักงานตรวจสอบความปลอดภัย (Safety Auditor)
4.5 ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย (Safety Officer, Senior Professional Level)
4.6 เจ้าหน้าที่ให้บริการตรวจวัดสภาพแวดล้อม (Environmental Sampling Officer)
4.7 นักวิชาการหรือนักวิจัย (Academic Scholar or Researcher)
4.8 วิทยากรความปลอดภัย
4.9 นักวิชาการแรงงาน / พนักงานตรวจความปลอดภัย

5. กิจการที่ต้องการบุคลากรด้านความปลอดภัย

5.1 การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
5.2 การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
5.4 การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
5.5 การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
5.6 สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
5.7 โรงแรม
5.8 ห้างสรรพสินค้า
5.9 สถานพยาบาล
5.10 สถาบันทางการเงิน
5.11 สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
5.12 สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
5.12 สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ